วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

NETPIE IoT Academic Training for Instructors

อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมอบรม
หลักสูตร การพัฒนาอุปกรณ์และบริการ IoT
ด้วยแพลตฟอร์ม NETPIE สำหรับอาจารย์
(NETPIE IoT Academic Training for Instructors)
ระหว่างวันที่ 3 ถึง 4 พฤษภาคม 2560
ณ NECTEC อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ปทุมธานี


NETPIE = CLOUD PLATFORM + MICROGEAR LIBRARY

คลาวด์แพลทฟอร์ม (CLOUD PLATFORM)
แพลตฟอร์ม NETPIE เป็นแพลตฟอร์มแบบ cloud-as-a-service ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ("สิ่งต่างๆ") เข้าด้วยกันได้อย่างราบรื่นและชัดเจนที่สุด โดยการผลักความซับซ้อนในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จากมือผู้พัฒนาแอพพลิเคชันหรือผู้ผลิตอุปกรณ์ ไปยังคลาวด์ ทำให้ลดความยุ่งยากในการพัฒนาลง

MICROGEAR LIBRARY
Microgears เป็นไลบรารี่ เฟิร์มแวร์หรือ SDK ที่สนับสนุนช่องทางการสื่อสารและฟังก์ชันอื่น ๆ ระหว่างสิ่งต่างๆ กับ แพลตฟอร์ม NETPIE ขณะนี้เรามี Microgears สำหรับฮาร์ดแวร์ต่างๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการยอดนิยม โดยMicrogears ทั้งหมดเปิดให้ใช้แบบ open-source คือเปิดเผยซอร์สโค้ด และสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า รวมทั้งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

สาเหตุที่ต้องเลือก NETPIE
ทีมผู้พัฒนา NETPIE จะทำหน้าที่ดูแลงานที่น่าเบื่อให้แทน ทำให้นักพัฒนาสามารถทุ่มเทเวลาให้กับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทาง IoT ได้อย่างเต็มที่

THING-CENTRIC DEVELOPMENT
NETPIE ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง คุณมีหน้าที่เพียงพัฒนาสิ่งของต่างๆ (things) ของคุณเท่านั้น โดย NETPIE จะทำหน้าที่ดูแลสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแต่ละชิ้น ด้วยหลักการที่สิ่งต่างๆ แต่ละสิ่งเหล่านั้นมีตรรกะเป็นของตนเอง ความสามารถและการติดต่อสื่อสารในแบบของตนเอง เสมือนสังคมของมนุษย์

การจัดการแต่ละสรรพสิ่ง (IDENTITY MANAGEMENT)
ด้วยแพลทฟอร์ม NETPIE จะระบุสิ่งแต่ละสิ่ง (things) ด้วยชื่อ ทำให้สรรพสิ่งสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้เสมอ ไม่ว่าจะมี IP address หรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ข้อมูลระบุตัวตนยังสามารถรวมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับแต่ละแอพพลิเคชั่น

การพิสูจน์สิทธิ์ แบบไดนามิก (DYNAMIC AUTHORIZATION)
ด้วยสรรพสิ่ง ต้องผ่านการพิสูจน์สิทธิ์เพื่อใช้ในการสื่อสารโดยพิจารณาจากค่าบ่งชี้ของแต่ละสรรพสิ่ง โดยการพิสูจน์สิทธิ์สามารถปรับแต่งได้แบบไดนามิก เพื่อสามารถควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยละเอียด

การเชื่อมต่อที่ชัดเจน (TRANSPARENT CONNECTIVITY)
สรรพสิ่ง สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ตราบที่ต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ประหนึ่งว่าแต่ละสรรพสิ่งมีการเชื่อมต่อกันแบบ จุดต่อจุด (end to end) กันโดยตรง


รูปแบบบริการที่เป็นแบบแผน (SERVICE-ORIENTED MODEL)
ด้วยแนวคิดที่ให้ NETPIE ทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยส่วนตัวของ Microgears หากต้องการความช่วยเหลือ ก็เพียงแค่โทรหา NETPIE

สถาปัตยกรรมคลาวด์ที่ตอบโจทย์ (TRUE CLOUD ARCHITECTURE)
ด้วย NETPIE ได้รับการออกแบบมาด้วยสถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ที่แท้จริงตั้งแต่ต้น องค์ประกอบต่างๆ จึงมีโครงสร้างแบบกระจาย และเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแบบหลวมๆ เพื่อทำให้สามารถปรับขนาดและทนทานต่อความผิดพลาดของแพลทฟอร์มได้เป็นอย่างดี

บริการต่างๆ ของ NETPIE (NETPIE Services)
REST API
ด้วย REST API ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นให้มีขนาดเล็ก และเป็นสากล ทำให้ระบบเดิมสามารถปฏิสัมพันธ์กันแบบเรียลไทม์ ผ่านโปรโตคอล HTTP
แพทเทิร์น การลงทะเบียนเผยแพร่ (PUBLISH-SUBSCRIBE PATTERN)
ด้วยแพทเทิร์นนี้ ทำให้เราสามารถสร้างรูปแบบการสื่อสารแบบลงทะเบียนเผยแพร่ได้ ทำให้สามารถส่งข้อความระหว่างสรรพสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วทันที
การประสานงาน (COORDINATION)
ด้วยบริการที่ประสานงานกัน ทำให้สรรพสิ่งสามารถค้นหา ตรวจสอบ ความมีตัวตนของสิ่งต่างๆ ได้
การจัดเก็บข้อมูล (STORAGE)
บริการของ NETPIE รองรับพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลแบบง่ายๆ ผ่านพื้นที่ POSTBOX ทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูลของตนเองลงใน POSTBOX และสามารถเรียกใช้ได้ในภายหลัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น